นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Link)

ข้อที่ 1 ขอบเขตการบังคับใช้8

นโยบายนี้ใช้บังคับกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับกรมในปัจจุบัน และที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต ซึ่งถูกประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดย กรม เจ้าหน้าที่ พนักงานตามสัญญา หน่วยธุรกิจ หรือหน่วยงานรูปแบบอื่น รวมถึงคู่สัญญา หรือบุคคลภายนอกที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทน หรือในนามกรม ภายใต้การบริการต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ ระบบงาน แอปพลิเคชัน เอกสาร หรือบริการในรูปแบบอื่นที่ควบคุมดูแลโดยกรม บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับกรม รวมถึง

  1. ผู้ประกอบการเหมืองแร่ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพื้นฐาน
  2. ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงาน
  3. คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามกฎหมายและภารกิจของกรม
  4. ผู้ใช้งานบริการของกรม
  5. ผู้ให้บริการ คู่ค้า ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
  6. ผู้เข้าชม หรือใช้งานเว็บไซต์ www.dpim.go.th รวมทั้ง ระบบ แอปพลิเคชัน อุปกรณ์หรือช่องทางการสื่อสารอื่น ซึ่งควบคุมดูแลโดยกรม
  7. กรรมการ ผู้รับมอบอํานาจ ผู้แทน ตัวแทน ผู้ถือหุ้น หรือผู้ที่มีความสัมพันธ์ ในรูปแบบเดียวกันของนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับกรม
  8. บุคคลอื่นที่กรมเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ผู้สมัครงาน ผู้ขอรับทุน ครอบครัว เจ้าหน้าที่ ผู้ค้ําประกัน ผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อที่ 2 แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมเก็บรวบรวม3

กรมเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้

  1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมเก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง ในช่องทาง ให้บริการต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนการลงทะเบียน การสมัครงาน การลงนามในสัญญา เอกสาร แบบสํารวจ การให้บริการ หรือช่องทางอื่นที่ควบคุมโดยกรม
  2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมเก็บรวบรวมจากการใช้งานเว็บไซต์ บริการอื่น ๆ หรือจาก ซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  3. ข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมเก็บรวบรวมจากแหล่งอื่น โดยแหล่งข้อมูลดังกล่าว มีอํานาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว

ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลที่มีความจําเป็นในการให้บริการ ของกรม อาจเป็นผลให้กรมไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมด หรือบางส่วน

ข้อที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล5

กรมมีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการ ตามภารกิจและอํานาจหน้าที่ ได้แก่ การนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เป็นฐานข้อมูลผู้ใช้งานระบบบริการ อิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อเกี่ยวกับงานบริการ การประสานงานตามอํานาจหน้าที่ การสํารวจความคิดเห็นตามภารกิจ หรือกิจกรรม และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลของกรม จะต้องสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

  1. เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ (Lawfulness, Fairness and Transparency) ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อดําเนินภารกิจตามพันธกิจของกรม และการใช้อํานาจ ของรัฐที่กรมได้รับ ตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
  2. เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ ที่กรมกําหนด และไม่นําไปใช้ หรือเปิดเผยนอกเหนือขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลนั้น (Purpose Limitation)
  3. เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ เกี่ยวข้อง และ เท่าที่จําเป็นตามวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Minimization) ๔) เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกต้อง และดําเนินการให้ข้อมูล เป็นปัจจุบันในกรณีที่จําเป็น (Accuracy)
  4. เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาเท่าที่จําเป็น (Storage Limitation)
  5. เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของข้อมูลที่เหมาะสม (Security Safeguard)

ในกรณีที่กรมมีความจําเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือเพื่อความจําเป็นในการเข้าทําสัญญา หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธ ไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือคัดค้านการดําเนินงานการประมวลผลตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม อาจมีผลทําให้ กรมไม่สามารถดําเนินการ หรือให้บริการตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอได้ทั้งหมด หรือบางส่วน

ข้อที่ 4 ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมเก็บรวบรวม4

กรมอาจเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ กับบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้ หรือตามบริบทความสัมพันธ์ที่มีกับกรม โดยประเภทของข้อมูลที่จัดเก็บ มีดังต่อไปนี้

  1. ข้อมูลเฉพาะตัวบุคคล เช่น คํานําหน้านาม ชื่อ นามสกุล ชื่อกลาง ลายมือชื่อ หมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน สัญชาติ เลขที่หนังสือเดินทาง ข้อมูลทะเบียนบ้าน หมายเลขใบประกอบการ หมายเลขประกันสังคม หมายเลขใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หมายเลขใบอนุญาตขับรถ ภาพถ่าย เป็นต้น
  2. ข้อมูลสําหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เป็นต้น
  3. ข้อมูลการทํางานและการศึกษา เช่น ประวัติการทํางาน การศึกษา อาชีพ ตําแหน่ง หน้าที่ หมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษี ข้อมูลเงินเดือน ผลการประเมิน หมายเลขบัญชีธนาคาร เป็นต้น
  4. ข้อมูลการให้บริการ เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ภาพถ่าย วิดีโอ บันทึกเสียง ประวัติการสืบค้น หมายเลขอุปกรณ์ ประเภทอุปกรณ์ รายละเอียดการเชื่อมต่อ เป็นต้น
ข้อที่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ

กรณีที่กรมทราบว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่จําเป็นต้องได้รับความยินยอมในการเก็บรวบรวม เป็นของบุคคลซึ่งเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ กรมจะไม่ทําการเก็บรวบรวม ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อํานาจปกครองที่มีอํานาจกระทําการแทนผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย

กรณีที่กรมไม่ทราบมาก่อนว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ และตรวจสอบพบในภายหลังว่ากรมได้เก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว โดยยังมิได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อํานาจปกครองที่มีอํานาจกระทําการแทนผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ตามแต่กรณี โดยไม่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายประการอื่นในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว กรมจะ ดําเนินการลบ ทําลายข้อมูลส่วนบุคคลนั้นโดยเร็ว

ข้อที่ 6 วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล7

กรมเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ตามภารกิจ อํานาจ หน้าที่ ระเบียบ และกฎหมาย ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรม ดังนี้

  1. เพื่อนําไปใช้งานภายใต้ภารกิจ หน้าที่ และอํานาจตามกฎหมายของกรม รวมทั้ง เพื่อให้บริการและการบริหารจัดการ ภายใต้สัญญา หรือตามพันธกิจของกรม
  2. เพื่อดําเนินการตามสัญญาระหว่างกรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อการดําเนินการทางธุรกรรมของกรม
  4. เพื่อดําเนินการตามที่จําเป็นในการบริหารจัดการภายในองค์กร รวมถึงการสมัครงาน การสรรหาบุคลากร กรรมการ ผู้ดํารงตําแหน่ง การประเมินคุณสมบัติ หรือใช้สิทธิตามกฎหมาย
  5. เพื่อการยืนยันตัวตน พิสูจน์ตัวตน และตรวจสอบข้อมูลในการใช้บริการ ติดต่อใช้บริการ
  6. เพื่อดําเนินการตามที่จําเป็นในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่ชอบด้วย กฎหมาย หรือบุคคลอื่น หรือนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกรม
  7. เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ คําสั่งที่มีผลบังคับใช้ หรือการดําเนินการ เกี่ยวกับคดีความ การดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลตามหมายศาล รวมถึงการใช้สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อที่ 7 ประเภทบุคคลที่กรมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล4

กรมมีนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นธรรมและเหมาะสม ภายใต้การรับรู้หรือความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยกรมจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามวัตถุประสงค์ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ไว้ ทั้งนี้ ประเภทของบุคคลผู้รับข้อมูล มีดังต่อไปนี้

  1. หน่วยงานของรัฐ หรือผู้มีอํานาจหน้าที่ที่กรมต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ใน การดําเนินการตามกฎหมาย
  2. คู่สัญญา ซึ่งดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ภารกิจ และสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานของกรม
  3. คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการ ตามกฎหมายและภารกิจของกรม
  4. ผู้รับข้อมูลประเภทอื่น ได้แก่ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ร้องขอ
ข้อที่ 8 ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

กรมจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการดําเนินงานเท่าที่จําเป็น ตามระยะเวลา การเก็บรักษาที่จําเป็นและเหมาะสม ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ เมื่อพ้นระยะเวลา และ ข้อมูลส่วนบุคคลสิ้นความจําเป็นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว กรมจะทําการลบ ทําลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ทําให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ต่อไป ตามรูปแบบ และมาตรฐานการลบทําลายข้อมูลส่วนบุคคล ที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือกฎหมายได้ประกาศกําหนด หรือตามมาตรฐานสากล

ข้อที่ 9 การให้บริการโดยบุคคลที่สาม หรือผู้ให้บริการช่วง

กรมอาจมีการมอบหมายหรือจัดซื้อจัดจ้างบุคคลที่สาม (ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) ให้ทําการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของกรม โดยในการมอบหมายให้บุคคลที่สามทําการประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น กรมจะจัดให้มีข้อตกลงระบุสิทธิและหน้าที่ของกรมใน ฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและบุคคลที่กรมมอบหมายในฐานะผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกําหนด รายละเอียดประเภทข้อมูล วัตถุประสงค์ ขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และข้อตกลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามขอบเขตที่ระบุในข้อตกลง และตามคําสั่งของกรมเท่านั้น โดยไม่สามารถประมวลผลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้

ข้อที่ 10 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

กรมได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างเหมาะสม โดยการจํากัดสิทธิ การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ให้สามารถเข้าถึงได้โดยเจ้าหน้าที่เฉพาะราย หรือบุคคลที่มีอํานาจหน้าที่ หรือได้รับ มอบหมาย ที่มีความจําเป็นต้องใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้แล้วเท่านั้น ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องยึดมั่น และปฏิบัติตามมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของกรม ตลอดจนมีหน้าที่รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนเองรับรู้จากการปฏิบัติการตามอํานาจหน้าที่ อย่างเคร่งครัด โดยกรมมีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่เหมาะสม และเป็นไปตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกาศกําหนด เพื่อยืนยันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมเก็บรวบรวมจะมีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ

ข้อที่ 11 การเชื่อมต่อเว็บไซต์หรือบริการภายนอก

กรมอาจมีการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือบริการของบุคคลที่สาม ซึ่งเว็บไซต์หรือบริการดังกล่าวอาจมีประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีเนื้อหาสาระแตกต่างจากนโยบายนี้ กรมขอแนะนําให้ศึกษานโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซต์ หรือบริการนั้น ๆ เพื่อความเข้าใจ ก่อนเข้าใช้งาน ทั้งนี้ กรมไม่มีความเกี่ยวข้อง ไม่มีอํานาจควบคุมและไม่สามารถรับผิดชอบต่อเนื้อหานโยบาย ความเสียหาย หรือการกระทําอันเกิดจากเว็บไซต์ หรือบริการของบุคคลที่สาม

ข้อที่ 12 เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

กรมได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบ กํากับ และ ให้คําแนะนําในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการประสานงาน และให้ความร่วมมือกับ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒

ข้อที่ 13 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล8

กรมให้ความสําคัญต่อการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยได้กําหนดสิทธิของเจ้าข้อมูลส่วนบุคคลไว้ ซึ่งประกอบด้วย

  1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม
  2. สิทธิในการได้รับการแจ้งรายละเอียดในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล วัตถุประสงค์ ของเก็บรวบรวม ผลกระทบที่ไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล ประเภทของบุคคลหรือหน่วยงานที่ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ เก็บรวบรวมอาจจะถูกเปิดเผย และสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  3. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ขอรับสําเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรม หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่เจ้าของข้อมูลนั้นไม่ได้ให้ความยินยอม
  4. สิทธิในการขอรับ ส่ง หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้อื่นด้วยวิธีอัตโนมัติ
  5. สิทธิในการขอคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิในการขอลบ ทําลาย หรือทําให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
  7. สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  8. สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน
ข้อที่ 14 โทษของการไม่ปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การไม่ปฏิบัติตามนโยบายอาจมีผลเป็นความผิดและถูกลงโทษทางวินัยตามกฎหมาย คําสั่ง และระเบียบที่เกี่ยวข้อง และอาจได้รับโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒

ข้อที่ 15 การร้องเรียนต่อหน่วยงานผู้มีอํานาจกํากับดูแล

ในกรณีที่พบว่ากรมมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนไปยังคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลที่ ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือตามกฎหมาย ทั้งนี้ ก่อนการร้องเรียนดังกล่าว กรมขอความอนุเคราะห์เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อมายังกรม เพื่อให้มีโอกาสได้รับทราบข้อเท็จจริง และ ได้ชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงจัดการแก้ไขข้อกังวลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเป็นโอกาสแรก

ข้อที่ 16 การปรับปรุงแก้ไขนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

กรมจะพิจารณาทบทวนปรับปรุงนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความทันสมัยและเป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้อย่างสม่ําเสมอ และจะทําการแจ้งให้ทราบผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.dpim.go.th การเข้าใช้งานหรือบริการของกรม ภายหลังการประกาศใช้นโยบาย ถือเป็นการรับทราบ ตามข้อตกลงในนโยบายนั้นแล้ว ทั้งนี้ โปรดหยุดการเข้าใช้งาน หากท่านไม่เห็นด้วยกับรายละเอียดในนโยบายฉบับนี้ และโปรดติดต่อมายังกรม เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป

ข้อที่ 17 ช่องทางการติดต่อ2
  1. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)

    กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ๗๕/๑๐ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ call@dpim.go.th โทร. ๐ ๒๔๓๐ ๖๘๔๐ ต่อ ๔๐๔๑

  2. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer : DPO)

    ๗๕/๑๐ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ dpo@dpim.go.th โทร. ๐ ๒๔๓๐ ๖๘๓๕ ต่อ ๓๘๐๒

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"นโยบายคุกกี้